1. สวนควนข้อง หม้อข้าวหม้อแกงลิง อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล
นายวรวิช ควนข้อง เจ้าของสวนควนข้อง หม้อข้าวหม้อแกงลิง
บ้านสวนควนข้อง แหล่งการเรียนรู้ จ.สตูล เพาะขยาย ‘หม้อข้าว หม้อแกงลิง’ พืชใกล้สูญพันธุ์ โดยมีขนาดเกือบเท่าใบหน้าคน อีกทั้ง จ.สตูล ยังรอการประกาศจากยูเนสโก
ให้เป็นอุทยานธรณีโลกอีกด้วย
วันนี้ 2 พฤศจิกายน 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทีี่บ้านสวนควนข้อง หมู่ที่ 8 ต.ทุ่งหว้า อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล เป็นอีกหนึ่งแหล่งเรียนรู้ของทริปการท่องเที่ยวกลุ่มสตูล จีโอปาร์ค
อุทยานธรณีแห่งประเทศไทย จ.สตูล ที่ได้รับความสนใจ โดยหลังจากที่บ้านสวนควนข้องแห่งนี้ ได้นำพันธุ์ไม้ หม้อข้าว หม้อแกงลิง ที่กำลังสูญพันธุ์มาทำการเพาะขยาย ผสมสาย
พันธุ์หายากมีมากกว่าหนึ่งพันต้น ถึง 6 สายพันธุ์ มาไว้ที่สวนแห่งนี้เพื่อจำหน่าย ซึ่งสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่จะมีราคาสูงถึง 850-900 บาท
โดย นายวรวิช ควนข้อง อายุ 31 ปี เจ้าของสวนควนข้อง ได้เพาะพันธุ์หม้อข้าวหมอแกงลิงเพื่ออนุรักษ์ ซึ่งสายพันธุ์นี้ดูแลนานกว่า 2 ปี ทำให้หม้อมีขนาดใหญ่เกือบเท่า
ใบหน้าของคน โดยนายวรวิช เล่าว่า จุดเริ่มต้นของการเพาะพันธุ์ เกิดจากชาวบ้านมาขอให้ตนสอนวิธีการเลี้ยงพันธุ์ไม้ชนิดนี้ที่กำลังจะสูญพันธุ์ไปจากท้องถิ่น อีกทั้งตนยังเห็นสเน่ห์
ของพันธุ์ไม้ที่มีความพิเศษในการเปลี่ยนสภาพจากใบเป็นกรวยจอกเพื่อดักจับแมลง โดยแต่ละสายพันธุ์จะมีความแตกต่างกันไป ประกอบกับเป็นพันธุ์ไม้ที่เริ่มหายาก จึงเกิดแนวคิดใน
การเพาะขยายพันธุ์เพื่ออนุรักษ์ไว้และส่งต่อให้ทุกคนที่ชื่นชอบได้ครอบครองเป็นเจ้าของนายณรงค์ฤทธิ์ ทุ่งปรือ ผู้อำนวยการอุทยานธรณีแห่งประเทศไทย จ.สตูล กล่าวว่า สตูลเป็น
อุทยานธรณีแห่งประเทศไทยแห่งแรก และกำลังรอให้มีการประกาศเป็นอุทยานธรณีโลก หรือ จีโอปาร์ค จากยูเนสโก โดยบ้านสวนควนข้อง เป็นอีกหนึ่งแหล่งศึกษาสำคัญ
ทางอุทยานธรณีใน จ.สตูล ที่มีการอนุรักษ์ทรัพยากรในชุมชนที่ยั่งยืน มีรายได้จากการเป็นวิทยากร เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นรายได้เสริมจากการทำสวนยางพารา ไม่น้อยกว่าสองถึงสาม
พันบาท จากการมาทำขนมข้าวเหนียวหม้อข้าว หม้อแกงลิง ซึ่งเป็นขนมพื้นเมือง โดยมีการสาธิตให้ผู้มาเรียนรู้ได้ทานกัน
ติดต่อสอบถามสวนควนข้องหม้อข้าวหม้อแกงลิง 081-097-1684
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
2. แหล่งเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล
กรามช้างดึกดำบรรพ์
พิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า ตั้งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า เป็นอาคารชั้นเดียว มีขนาดพื้นที่จัดแสดง อยู่ติดกับที่ว่าการอำเภอทุ่งหว้า เปิดให้บริการ
ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ในเวลาราชการ เว้นวันหยุดราชการ โดยไม่เก็บค่าเข้าชม มีสถิติผู้เข้าเยี่ยมชมประมาณ 100,000 คนต่อปี โดยภายในห้องนิทรรศการประกอบด้วยการนำ
เสนอเรื่องราวเกี่ยวกับช้างไทย ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในจังหวัดสตูล และซากดึกดำบรรพ์ช้างที่พบใน ถ้ำเล สเตโกดอนและซากดึกดำบรรพ์อื่นๆ